close

This option is currently not available

Close close
‘จัดหางานอย่างเป็นธรรม’ เพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ

‘จัดหางานอย่างเป็นธรรม’ เพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ

เวิร์กช็อปผู้รับเหมา ‘การจัดหางานอย่างเป็นธรรม และการปกป้องคุ้มครองสิทธิแรงงาน’

แรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงสิทธิด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมา เปิดให้เห็นถึงบาดแผลในสังคมเกี่ยวกับปัญหาสิทธิพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติ ยังไม่นับรวมไปถึงประเด็นสิทธิของเด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติ... ปัญหาใหญ่ที่เราทุกคนไม่อาจมองข้าม และจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือดำเนินงาน ทั้งจากตัวแรงงานข้ามชาติเอง นายจ้าง ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนต่างๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย

เมื่อเร็วๆ มานี้ โครงการการเข้าถึงแรงงานหญิงข้ามชาติและครอบครัวในบ้านพักแรงงานก่อสร้าง (REACH) ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนจาก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันจัด การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การจัดหางานอย่างเป็นธรรม และปกป้องคุ้มครองสิทธิแรงงาน’ โดยมีผู้รับเหมาและผู้ที่มีส่วนงานเกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติภายในโครงการของ ‘แสนสิริ’ เข้าร่วมกิจกรรม

เวิร์คช็อปครั้งนี้เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้รับเหมาเกี่ยวกับสิทธิตามสวัสดิการ แรงงาน และสิทธิเด็ก มุ่งผลักดันให้ตัวผู้ประกอบการและนายจ้างตระหนักถึงบทบาทของพวกเขาว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงสิทธิแรงงานได้ เพราะนายจ้างเป็นหน้าด่านที่ใกล้ชิดแรงงานข้ามชาติที่สุด เป็นผู้ที่แรงงานข้ามชาติคุ้นเคยและมีความไว้วางใจ ดังนั้นหากนายจ้างร่วมเป็นกระบอกเสียงสนับสนุน ให้ความรู้ และช่วยเหลือ แรงงานข้ามชาติจะมีความมั่นใจและเชื่อถือว่าสิทธิแรงงานของพวกเขาได้รับการสนับสนุนอย่างไม่โดดเดี่ยว

เราเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้น วันนี้ทุกท่านมานั่งอยู่ตรงนี้ ท่านมีส่วนอย่างมากในการช่วยประเทศไทยขับเคลื่อนงานเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ท่านไม่ได้ทำเพียงเพื่อว่าจะอยู่กับแรงงานเพื่อให้เขาทำสัญญากับเราตลอดไป แต่ท่านยังมีอานิสงส์ในการช่วยเหลือแรงงานในหลายๆ เรื่อง คุณธีรยุทธ แก้วสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวในการบรรยายประเด็นแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) เน้นให้ผู้เข้าอบรมร่วมคิดและเล็งเห็นความสำคัญในประเด็นสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นเรื่องที่ทับซ้อนอยู่ในภาคธุรกิจ การให้ความสำคัญและส่งเสริมความรู้ด้านสิทธิแรงงานแก่ผู้ประกอบการและนายจ้างซึ่งเป็นฝ่ายที่อยู่ใกล้ชิดแรงงานข้ามชาติที่สุด จึงเป็นจุดสำคัญที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้

นฤมล อันบุรี เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลจาก T.T.S. Engineering ให้สัมภาษณ์หลังการอบรมมีความสุขที่ได้ทำงานที่ช่วยเหลือแรงงานค่ะ สิ่งที่ได้รับจากการอบรมค่อนข้างพอใจในระดับของสายงานองค์กรก่อสร้างโดยตรงเลยนะคะ ไม่ว่าจะเรื่องคุ้มครองแรงงาน สิทธิของเด็กและสตรี แล้วก็การจัดหางานให้แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยนายจ้างอาจยังไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายที่แท้จริงคือเท่าไร การจัดการอย่างไรให้กับนายจ้าง ภาครัฐและเอกชนจะช่วยเหลือกันกับองค์กรนายจ้างอย่างไรบ้าง ในลักษณะงานของเราคือต้องช่วยเขาดูเอกสาร ก็เหมือนช่วยเหลือกันมากกว่า ไปช่วยแนะนำเขาได้ว่าต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องค่ะ

ที่อบรมความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน การจ้างและปฎิบัติต่อแรงงานข้ามชาติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ผมเอาไปใช้ในโครงการควบคู่ไปกับผู้รับเหมา ก็คือเราช่วยดำเนินการให้แรงงานข้ามชาติส่วนหนึ่ง และไปคอยแนะนำเรื่องการปฎิบัติต่อแรงงานข้ามชาติให้กับผู้รับเหมาด้วย เพราะผมทำในส่วนของหน้างาน อุเทน คู่คิด ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มาเข้าร่วมการอบรมฯ กล่าวถึงสิ่งที่เขาสามารถทำเพื่อส่งเสริมสิทธิแรงงานได้ในฐานะผู้ที่ทำงานร่วมกับแรงงานข้ามชาติในหน้างานก่อสร้าง ซึ่งไม่เพียงเฉพาะการผลักดันในกลุ่มแรงงาน แต่อุเทนเห็นด้วยว่าการให้ความรู้แก่ผู้รับเหมาและนายจ้างก็สำคัญมากเช่นกัน

ความพยายามผลักดันให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิพื้นฐานที่พวกเขาควรได้รับ จะไม่สามารถขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จเลยหากมุ่งเน้นทำงานผ่านตัวแรงงานข้ามชาติเพียงเพียงฝ่ายเดียว ควบคู่กันไปจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความตระหนักและร่วมลงมือทำไปพร้อมกันโดยทุกภาคส่วน ทั้งนายจ้างที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวแรงงานข้ามชาติ ตัวบทกฎหมาย รวมถึงการผลักดันในเชิงนโยบายด้วย

เพื่อให้ทุกคนรวมถึงแรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิพื้นฐานที่พวกเขาควรได้รับ การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ต้องพึ่งพาพลังจากทุกภาคส่วน