close

This option is currently not available

Close close
ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมสู่ความยั่งยืนกับเรา

ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมสู่ความยั่งยืนกับเรา

การเปลี่ยนแปลงสังคมสู่ความยั่งยืนของมูลนิธิศุภนิมิตฯ เป็นอีกหนึ่งหนทางที่มุ่งเน้นสู่ความยั่งยืน ในบทความนี้จะพาผู้อ่านมารู้จักการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงยั่งยืนกับเรา

ความยั่งยืนกลายมาเป็นหัวข้อที่หลายองค์กรให้ความสนใจ เนื่องจากการพัฒนาในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการใช้ทรัพยากรจำนวนมากจนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดกระแสการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่หลายองค์กรนำมาใช้ ความยั่งยืนจึงเป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงๆ แล้ว คำว่า “ความยั่งยืน” ยังมีความหมายอื่นๆ อีกมาก ซึ่งพันธกิจการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่ความยั่งยืนของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ก็เป็นอีกหนึ่งมูลนิธิที่มุ่งเน้นสู่การสร้างความยั่งยืน ดังนั้นในบทความนี้จะพาผู้อ่านมารู้จักการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงยั่งยืนไปพร้อมกับเรา

การพัฒนาสู่ความยั่งยืน

การพัฒนาสู่ความยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความสมดุลหรือการพัฒนาให้มีปฏิสัมพันธ์ที่เกื้อกูลต่อกันและกันในมิติต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม จิตใจ ทรัพยากรต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่จะทำให้ทุกคนสามารถอยู่ดีมีสุขได้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การพัฒนาสู่ความยั่งยืนไม่ได้หมายความถึงการใส่ใจด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่มุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาครอบคลุมทั้งหมด 17 ด้านดังนี้

  1. การขจัดความยากจน
  2. การขจัดความอดยากและสร้างความมั่นคงทางอาหาร
  3. การส่งเสริมและสร้างหลักประกันของชาติว่าทุกคนจะมีสุขภาพดีและสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
  4. การส่งเสริมทุกคนให้มีโอกาสในการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ครอบคลุม และเท่าเทียม
  5. การสร้างความเท่าเทียมทางเพศและเสริมอำนาจให้เด็กผู้หญิง
  6. การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อให้เพียงพอต่อทุกคน
  7. การเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนได้ตามกำลังของแต่ละคน
  8. การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
  9. การส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่ยั่งยืน
  10. การลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  11. การสร้างความปลอดภัยให้กับเมืองและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย
  12. การสร้างความยั่งยืนในการผลิตและบริโภค
  13. การดำเนินการแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างเร่งด่วน
  14. การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
  15. การส่งเสริมประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก
  16. การส่งเสริมสันติภาพและการเข้าถึงระบบยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
  17. การสร้างความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมสู่ความยั่งยืน

เส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมสู่ความยั่งยืน

ในปี 1950 ดร.บ็อบ เพียร์ซ (Dr. Bob Pierce) ได้ช่วยเหลือเด็กคนหนึ่งด้วยเงินจำนวนเพียงเล็กน้อย จนนำไปสู่การก่อตั้งองค์กรศุภนิมิตสากลขึ้นพร้อมการสนับสนุนจากคนทั่วโลก ทำให้ในปี 1972 เครือข่ายศุภนิมิตสากลได้เข้ามาช่วยเหลือเด็กเปราะบางยากไร้ในประเทศไทย ขยายการดำเนินงานไปสู่พื้นที่ต่างๆ และในปี 1974  “มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย” จึงถูกก่อตั้งขึ้นโดยดำเนินพันธกิจหลักในการให้ความช่วยเหลือเด็ก ครอบครัว และชุมชนยากไร้ เพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจน และเปลี่ยนแปลงให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านการได้รับการบริจาคเงินจากหลากหลายฝ่าย

อย่างไรก็ตาม ในปี 1980 มูลนิธิฯ ได้มีการปรับบทบาทในการช่วยเหลือทั้งงานด้านศึกษา โภชนาการ สุขอนามัย ฯลฯ และมุ่งเน้นการพัฒนาสังคมไปสู่ความยั่งยืนขึ้นผ่านการช่วยเหลือเด็กเปราะบางยากไร้ซึ่งกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของครอบครัวและชุมชน พัฒนาและส่งเสริมความแข็งแกร่งของครอบครัวให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมแก้ไขปัญหาเร่งด่วนหรือความขาดแคลนต่างๆ เพื่อให้เด็ก ครอบครัว และชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้แม้มูลนิธิฯ จะออกจากพื้นที่แล้วก็ตาม ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งความยั่งยืนทางเศรษฐกิจชุมชน ความยั่งยืนทางสังคม ความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติ และความยั่งยืนทางสุขภาวะ

ซึ่งมีโครงการอุปการะเด็กเป็นโครงการหลัก เพราะเราเชื่อว่าเมื่อเด็กได้รับการดูแลอย่างดีก็จะช่วยทำให้เด็กในสังคมสามารถซึมซับความเป็นอยู่ที่ดีตามมา ลดปัญหาความรุนแรง ลดความยากจน ตลอดจนเพิ่มการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์อย่าง อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และรวมถึงการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม ทำให้เด็กได้รับโอกาสต่างๆ ในชีวิตเพิ่มขึ้น สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาตัวเองและครอบครัว และสามารถกลับมาพัฒนาชุมชนและสังคมได้อีกในอนาคต นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาด้านอื่นๆ ในการสนับสนุนการช่วยเหลือที่เร่งด่วนของแต่ละพื้นที่เพื่อเป็นอีกวิธีการในการช่วยดูแลและพัฒนาเด็กให้มีชีวิตความเป็นอยู่แบบองค์รวมให้ดีขึ้น

นอกจากการเสริมความแข็งแกร่งตั้งแต่ระดับชุมชนจนไปถึงเด็กแล้ว ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ยาวนาน ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ราก จึงสามารถช่วยเหลือครอบครัว ผ่านการสร้างอาชีพที่มั่นคง พร้อมพัฒนาสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน เพื่อสามารถที่จะอยู่ได้ด้วยตนเอง จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมสู่ความยั่งยืน

ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมสู่ความยั่งยืน

การพัฒนาสังคมสู่ความยั่งยืนของมูลนิธิศุภนิมิตฯ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการสนับสนุนผ่านการบริจาคเงินอุปการะเด็ก การบริจาคทุนการศึกษา หรือการบริจาคเพื่อโครงการต่างๆ และรวมถึงความร่วมมือของชุมชน หุ้นส่วนร่วมพันธกิจ และหน่วยงานภาครัฐบาล เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาหลักเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมอย่าง “ความยากจน” โดยมูลนิธิศุภนิมิตฯ มุ่งมั่นในการทำงานโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ ศาสนา ท่านที่สนใจสามารถเข้าร่วมบริจาคออนไลน์ ผ่านโครงการอุปการะเด็ก (Child Sponsorship Program) อุปการะเด็ก 1 คน บริจาค 700 บาทต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อมอบโอกาสและช่วยปกป้องเด็กเปราะบางยากไร้ โดยเงินบริจาคสามารถนำไปไปหักลดหย่อนภาษีได้

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริจาคออนไลน์

 

โครงการต่างๆของมูลนิธิฯ