close

This option is currently not available

Close close
เยาวชนเดินขบวนรณรงค์ยุติความรุนแรง

การยุติความรุนแรงต่อเด็ก

เราจะสู้ต่อไป จนกว่าเด็กทุกคนจะได้รับการปกป้องคุ้มครองตามสิทธิเด็ก

 เด็กทุกคนต้องปลอดภัย

เด็ก 1.7 พันล้านคนซึ่งนับเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กทั่วโลกตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทย จากข้อมูลจากการรับแจ้งเหตุสายด่วน 1300 พบว่า ตั้งแต่ ต.ค. 2561 ถึง ก.ย. 2562 มีจำนวนเด็กและเยาวชนถูกกระทำความรุนแรงเฉลี่ยวันละ 5 คน ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 7 ในบรรดา 75 ประเทศที่มีความเชื่อว่าการลงโทษด้วยการทําร้ายร่างกายเป็นสิ่งจําเป็นในการอบรมสั่งสอนเด็ก และพบว่าเด็กอายุระหว่าง 3-4 ปี เป็นช่วงอายุที่ถูกทําโทษด้วยวิธีที่รุนแรงมากที่สุด แนวทางของเราในการยุติความรุนแรงต่อเด็กคือการช่วยปกป้องสิทธิเด็กๆ ในวันนี้ และเสริมพลังให้พวกเขาในวันพรุ่งนี้

ด้วยการมองเห็นปัญหาและสาเหตุของความรุนแรงในทุกพื้นที่ มูลนิธิศุภนิมิตฯ จึงสามารถทำงานอย่างใกล้ชิดกับทุกภาคส่วนในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็ก ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวและชุมชน องค์กรความเชื่อทางศาสนา และขยายไปสู่ห้องเรียน แกนนำเยาวชน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้รักษากฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและนักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร และภาครัฐทั้งส่วนกลางและระดับท้องถิ่น เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น

การสนับสนุนจากท่านทั้งผ่านการบริจาคเงินสนับสนุนโครงการต่างๆ หรือบริจาคทุนการศึกษาสามารถช่วยเราได้ เพราะเราทำงานในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารซึ่งเข้าถึงยากและเปราะบางสูงสุด เราทำงานร่วมกับชุมชนและภาครัฐในทุกระดับเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสร้างเครือข่ายความปลอดภัยเพื่อดูแล และปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็ก พร้อมกับช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวให้ได้รับความช่วยเหลือและเยียวยา

ความท้าทายอันยิ่งใหญ่ในการต่อสู้เพื่อสิทธิเด็กในด้านความปลอดภัยของเด็ก

เราปกป้องคุ้มครองเด็กให้ปลอดภัยได้อย่างไร

มูลนิธิศุภนิมิตฯ มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักเพื่อยุติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษเด็กด้วยการทำร้ายร่างกายและใช้ความรุนแรง การปล่อยปละละเลยทอดทิ้งเด็ก การกลั่นแกล้ง รวมถึงความรุนแรงในโลกออนไลน์ พร้อมทั้งรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายเพื่อสิทธิ์และเสียงของเด็ก ซึ่งรวมถึงเด็กกลุ่มชาติพันธุ์และแรงงานข้ามชาติด้วย

poster

ปี 2019 มูลนิธิศุภนิมิตฯ สนับสนุนกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความตระหนักด้านสิทธิเด็กและการยุติความรุนแรงต่อเด็กให้เยาวชน 7,939 คนทั่วประเทศ

ปกป้องเด็กๆ ในวันนี้ เสริมพลังให้พวกเขาในวันพรุ่งนี้

ด้วยการสนับสนุนจากท่านผ่านการบริจาคเงินอุปการะเด็กและการบริจาคออนไลน์เพื่อบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน ท่านช่วยเราสร้างอนาคตที่ปราศจากความรุนแรงต่อเด็ก

สนับสนุนเด็กๆ เช่น น้องจอห์น ให้ได้รับการศึกษา เพื่อพวกเขาได้รับความรู้และการปกป้องคุ้มครอง

เราปกป้องคุ้มครองเด็กอย่างไร

เราเชื่อว่าโลกที่ปราศจากความรุนแรงต่อเด็กเป็นไปได้

ด้วยการสนับสนุนจากท่าน เราสามารถช่วยปกป้องเด็กและสร้างการตระหนักรู้ในสิทธิเด็ก ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายให้ปลอดภัยจากความรุนแรง มาร่วมกันเสริมกำลังให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รณรงค์ และเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อปกป้องพวกเขา รับทราบข่าวสารล่าสุดจากเรา รวมถึงวิธีการบริจาคออนไลน์ไปกับเรา ที่ท่านสามารถช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กๆ ได้

เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของเรา

คำถามที่พบบ่อย

  1. 1. สิทธิเด็ก คืออะไร หมายถึงอะไร

    ความหมายของเด็กในที่นี้หมายถึงบุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ซึ่งสิทธิเด็ก คือ สิทธิของเด็กทุกคนที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด โดยไม่ขึ้นอยู่กับเพศ ความเชื่อ เชื้อชาติ และสัญชาติ ตลอดจนความสมบูรณ์พร้อมทางร่างกายและจิตใจ เป็นสิทธิสากลที่ไม่สามารถลดทอนหรือกำจัดสิทธิของเด็กๆ ได้ ตลอดจนการละเมิดต่อสิทธิเด็ก โดยสิทธิของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนั้นแบ่งได้ออกเป็น 4 ประเภท คือ 

    • สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival) คือ สิทธิในการอยู่รอดปลอดภัยตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเกิดมาตามปกติหรือมีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจก็ตาม รวมถึงสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม ทั้งด้านสุขภาพอนามัย อาหาร และความเป็นอยู่
    • สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development) คือ สิทธิที่จะได้รับการศึกษา  เพื่อการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจให้เหมาะสมกับวัย ตลอดจนการส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ ในการเติบโต สามารถพึ่งพาตนเองได้
    • สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection) คือ สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการล่วงละเมิดและการทารุณกรรมทุกรูปแบบ โดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการละเมิดเพื่อใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ การใช้สารเสพติด และการค้ามนุษย์
    • สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation) คือ สิทธิในการมีส่วนร่วมด้านการแสดงความคิดเห็น การได้รับข้อมูลข่าวสาร การแสดงออกทั้งความคิดและการกระทำ รวมถึงความสามารถในการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่ออนาคตของตนเอง
  2. 2. ทำไมถึงมีการละเมิดสิทธิเด็ก?

    ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่เรื้อรังในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน เนื่องจากขาดการตระหนักรู้จากสังคม เพราะขาดความรู้และความเข้าใจถึงสิทธิเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดทางด้านร่างกายและจิตใจผ่านการใช้ความรุนแรงซึ่งกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก การละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกผ่านค่านิยมตามระบบอาวุโสและอำนาจนิยมที่ลิดรอนสิทธิ์ในการแสดงออก สิทธิในการมีชีวิตรอดและสิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง

  3. 3. มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยสามารถช่วยรักษาสิทธิเด็กได้อย่างไร?

    มูลนิธิศุภนิมิตฯ เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของความรุนแรงที่ลิดรอนสิทธิเด็ก เราทำงานช่วยเหลือเด็กยากไร้ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารที่เข้าถึงยากและเปราะบางสูงสุด โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับทุกภาคส่วนในการปกป้องคุ้มครองเด็กเพื่อพยายามป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้น ผ่านการทำงานตั้งแต่ระดับครอบครัวและชุมชน ขยายไปสู่ห้องเรียน และภาครัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น โดยประสานงานกับอาสาสมัคร แกนนำเยาวชน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้รักษากฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ ในการช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการละเมิดสิทธิต่างๆ ให้ได้รับความช่วยเหลือและเยียวยา

  4. 4. สามารถช่วยเหลือในการรักษาสิทธิเด็กได้อย่างไรบ้าง?

    ทุกท่านสามารถช่วยในการรักษาสิทธิเด็กได้ผ่านการบริจาคออนไลน์ร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย โดยการบริจาคของทุกท่านสามารถเลือกได้ทั้งการอุปการะเด็ก การบริจาคทุนการศึกษา เพื่อปกป้องสิทธิเด็กให้ครบทั้ง 4 ประเภทอย่างครอบคลุม